ข้อแนะนำการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจุดยืน

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้เขียนต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้เขียนกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดดังนี้

  1. บทความควรจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสตรีศึกษา เพศภาวะศึกษา เพศวิถีศึกษา และเควียร์ศึกษา
  2. บทความสามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษควรมีพิสูจน์อักษร (proof-reading)จากเจ้าของภาษาก่อนจะส่งบทความ                  พร้อมเอกสารรับการตรวจจากเจ้าของภาษา
  3. บทความภาษาอังกฤษที่อ้างอิงหนังสือภาษาไทยต้องเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษสะกดตามหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  4. บทความควรมีหัวข้อที่ชัดเจนและแนบประวัติผู้ศึกษา มีรายละเอียด ชื่อนามสกุล ประวัติการศึกษา สถานที่ทำงาน ตำแหน่ง ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้พร้อม                    เบอร์โทรศัพท์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
  5. บทความควรมีความยาวประมาณ 15-20 หน้ากระดาษ A4 ภาษาไทย ตัวอักษร Angsana New ขนาด16 ชื่อเรื่อง 18 ภาษาอังกฤษ Time New Roman ขนาด12        และชื่อเรื่อง ขนาด 14
  6. บทความต้องไม่เคยลงตีพิมพ์หรือเผยแพร่เป็นเอกสารมาก่อน
  7. ผู้เขียนต้องมีจริยธรรมในการเผยแพร่บทความ (Publication Ethics)
  8. ถ้าเป็นบทความที่แปลมา ต้องส่งบทความต้นฉบับมาด้วย
  9. ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4
  10. การทำอ้างอิงและบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (2017)

 

กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process)

หลังจากได้รับบทความทางออนไลน์แล้ว กองบรรณาธิการจะคัดกรองเบื้องต้นเลือกเฉพาะบทความที่อยู่ในวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร และได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ ก่อนที่จะเสนอเพื่อแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ต่างสถาบัน เพื่ออ่านพิจารณาบทความ กรณีที่บทความส่งจากผู้เขียนภายในหน่วยงานต้นสังกัดของวารสาร ทางกองบรรณาธิการจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นผู้พิจารณาบทความทั้งหมด

1. การตรวจสอบต้นฉบับ (Manuscript) ในกรณีที่ต้นฉบับไม่ตรงตามแบบฟอร์มของวารสาร บทความจะถูกส่งกลับไปยังผู้ส่งบทความเพื่อทำการแก้ไขก่อนภายใน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) พิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิและส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความ
3. การพิจารณาของบรรณาธิการ(Editor Checks) ความเห็นของผู้ประเมินบทความถูกส่งมายังบรรณาธิการเพื่อพิจารณาตอบรับ/ปฏิเสธบทความที่ได้รับการประเมิน 
   ให้ลงออนไลน์ ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้ประเมินอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน หรือผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุดของกระบวนการคัดเลือก
   บทความนั้น

ความเห็นของผู้ประเมินบทความ

  • รับบทความโดยไม่ต้องแก้ไข
  • แก้ไขบทความตามผู้ทรงคุณวุฒิโดยให้บรรณาธิการพิจารณาต่อ
  • แก้ไขบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิขอให้ส่งกลับมาให้ตรวจสอบอีกครั้ง
  • บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  • ไม่รับบทความ

4. แก้ไขปรับปรุงบทความ (Revisions required) บทความที่ถูกพิจารณาแก้ไขจะถูกส่งไปยังผู้ส่งบทความเพื่อแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
5.บทความที่ได้รับการตอบรับ (Paper accepted and inform the author) บทความที่ได้รับการตอบรับจะต้องจัดแบบฟอร์มให้ตรงตามหลักเกณฑ์การเขียนบทความ
6. การพิสูจน์อักษร (Proof-reading) ผู้ช่วยบรรณาธิการ/คณะทำงานตรวจพิสูจน์อักษร จัดหน้า จัดแบบฟอร์มบทความ และแปลงไฟล์เป็น .pdf
7. เผยแพร่ (Online) ในวารสารจุดยืนออนไลน์