ศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2531 เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารเอกสารทางวิชาการ ด้านสตรีศึกษาให้บริการแก่คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ปัจจุบันศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา จัดได้ว่าเป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่มีเอกสารด้านสตรีศึกษามากที่สุดและดีที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของภาค วิชาสตรีศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ http://wsc.soc.cmu.ac.th และทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก www.facebook.com/WSCCMU Twitter: https://twitter.com/wsccmu และรายการวิทยุ “ไม่ใช่ช้างเท้าหลัง” ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้าวิจัยในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสตรี
  • เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการข้อมูลเอกสารและข่าวสารเกี่ยวกับสตรีศึกษาโดยเฉพาะ
  • ภาคเหนือให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจประเด็นปัญหาสตรี
  • เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเอกสารสิ่งพิมพ์, โสตทัศนวัสดุ และข้อมูลข่าวสาร กับบุคคล หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับสตรีศึกษาสำหรับเตรียมพร้อมในการสนับสนุนการเรียนการสอนหลักสูตรสตรีศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทรัพยากร

ทรัพยากรในศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา ประกอบด้วยหนังสือวิชาการ งานวิจัย เอกสารการประชุม สัมมนา วารสาร บทความ กฤตภาค นวนิยาย และโสตทัศนวัสดุ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้านสตรีศึกษา เพศภาวะ เพศวิถี กับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง อาทิ บทบาทสถานภาพสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย การศึกษา สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ลักษณะการดำเนินงาน

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศสตรีศึกษา

   วัสดุตำราเรียน เอกสาร หนังสือทั่วไป

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

   วารสาร

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

การดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • การประทับตราลงทะเบียนเอกสาร หนังสือ ตำราเรียน
  • การประทับตราลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และวารสารเย็บเล่ม
  • การซ่อม บำรุงรักษาเอกสาร วารสาร
  • การจัดเตรียมเอกสาร สิ่งพิมพ์ วิเคราะห์และติดสันหนังสือ และบัตรกำหนดส่ง

การดำเนินงานให้บริการ

  • ให้บริการแก่ผู้เข้าใช้ศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา
  • ให้บริการยืม-คืน วารสารล่วงเวลา และแฟ้มสารสนเทศเพื่อถ่ายเอกสาร
  • ให้บริการยืม-คืน หนังสือ/เอกสาร/บทความ/วารสาร
  • ให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
  • ให้บริการเข้าชมเทปบันทึกภาพ และสไลด์ประเด็นเกี่ยวกับสตรี และประเด็นที่เกี่ยวข้องภายในห้องประชุมใหญ่ ศูนย์สตรีศึกษา
  • เก็บหนังสือ/วารสาร/บทความเพื่อขึ้นชั้น
  • สำรวจหนี้สินค้างส่งหนังสือ/เอกสาร/วารสารของผู้ใช้บริการ ปรับหนังสือเกินกำหนดส่ง
  • สำรวจหนังสือชำรุดเพื่อส่งซ่อม
  • การบริการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ACCESS ของศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา และ ฐานข้อมูล CMUL OPAC ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์

  • การจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ/เอกสารลงในฐานข้อมูลACCESS ของศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา และฐานข้อมูลCMUL OPACของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • งานพิมพ์หนังสือราชการ ข่าวสาร ข้อมูล แบบฟอร์ม และงานอื่นๆ ของศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์
  • บริการค้นหาข้อมูลสารสนเทศออนไลน์และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  • การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
  • การพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ www.wsccmu.com

การดำเนินงานด้านธุรการและสารบรรณ

  • รับ-ส่งหนังสือ/เอกสารทางราชการ เบิกวัสดุสำนักงานที่ใช้ภายในศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา
  • ถ่ายเอกสาร หนังสือ เอกสาร หรือบทความต่างๆ ที่น่าสนใจ
  • ร่างหนังสือ/ทำบันทึกเสนอ/ทำหนังสือโต้ตอบ
  • จัดทำเอกสารเผยแพร่การให้บริการและเอกสารทางวิชาการ
  • จัดส่งสิ่งพิมพ์ของภาควิชาสตรีศึกษา เพื่อบริจาคแก่ห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์

ศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา ทำหน้าที่ประสานงานและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารของภาควิชาสตรีศึกษาในหลายช่องทาง ได้แก่ ทางรายการวิทยุ “ไม่ใช่ช้างเท้าหลัง” ออกอากาศที่สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ คลื่นความถี่ FM 93.25 MHz ทุกวันศุกร์ เวลา 05.30 – 06.00 น. และทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ของภาควิชาสตรีศึกษา www.wsccmu.com และทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก www.facebook.com/ WSCCMU, https://twitter.com/wsccmu รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น

ผู้มีสิทธิใช้บริการ

อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บุคคลภายนอกจากสถาบัน การศึกษาอื่นๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป

เวลาเปิดบริการ

เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00น. และ 13.00-16.30น. (หยุดพักกลางวัน) เว้นวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ

ระเบียบการยืม

สำหรับผู้ใช้บริการยืมในครั้งแรกต้องกรอกชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ในแบบฟอร์ม การยืม เพื่อเป็นหลักฐานข้อมูลการจัดการห้องสมุด และต้องวางบัตรประจำตัวสำคัญทางราชการ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, ใบขับขี่, สำเนาหนังสือเดินทาง (สำหรับชาวต่างประเทศ)