MASCULINE DOMINATION

PIERRE BOURDIEU

แนะะนำโดย ฉลาดชาย รมิตานนท์ 

ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) เป็นใคร? ในที่นี้จะแนะนำไว้สั้น ๆ ว่า บูร์ดิเยอ เป็นนักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยาและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เขาเป็นผู้บุกเบิกทางด้านกรอบคิดในการตรวจสอบกรอบคิดต่าง ๆ และศัพท์แสงต่าง ๆ ทางวิชาการ (investigative frameworks and terminologies) ตัวอย่างเช่น cultural หรืออะไรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือถือกันว่าเป็นวัฒนธรรม (cultural) สังคม (social) และทุนทางสัญลักษณ์ (symbolic capital) และบรรดามโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด (concepts) หรือเจตนคติต่าง ๆ (Wikipedia)

เขาเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste (1979), Outline of a Theory of Practice (1972), เล่มนี้ถือกันว่าเป็นเล่มสำคัญมากในทางทฤษฎีว่าด้วยรากฐานต่าง ๆ (foundations) ของวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา Language and Symbolic Power (1991), เล่มนี้ก็ถือว่านำเอางานสำคัญ ๆ ที่มีลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ (original) ของเขามารวมเล่ม เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ว่าด้วย ภาษากับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างภาษากับอำนาจและการเมืองอีกเล่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นงานที่ได้รับการยกย่องอย่างสูง ในเล่มนี้ บูร์ดิเยอ หันความสนใจสู่โลกวิชาการพร้อมกับนำเสนอการวิเคราะห์ที่ว่ากันว่า “สุดยอด” ของการวิเคราะห์วัฒนธรรมทางปัญญาของยุคทันสมัย นอกจากนั้นยังมีหนังสือของเขาอีกหลายเล่ม เช่น  Pascalian Mediations (1997), The Logic of Practice (1980), An Invitation to Reflexive Sociology (1992), The Field of Cultural Production (1993), Reproduction in Education, Society and Culture (1970) และยังมีเหลืออีกสาม-สี่เล่มที่ยังไม่ได้ยกมาให้เห็นในที่นี้

อย่างไรก็ตามหนังสือของเขาเล่มที่อยากแนะนำโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาสตรีศึกษาคือ Masculine Domination ที่กล่าวถึงในบรรทัดแรก ซึ่งต้องบอกผู้อ่านก่อนว่าผู้แนะนำใช้วิธีแปลมาจากคำแนะนำที่ปรากฏใน Google Books ความว่า

การครอบงำของความเป็นชายหรือ Masculine Domination นั้นเป็นอะไรที่มันฝังรากหรือ “ทอดสมอ” (anchored) อยู่ในปฏิบัติการต่าง ๆ ทางสังคมของเราและอยู่ในความคิดจิตสำนึกที่ไม่รู้ตัว (unconscious) ของเรา ซึ่งเรามักไม่ค่อยเห็น มันเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะอยู่ในแนวทางกับความคาดหวังต่าง ๆ ของเรา ซึ่งเรามักพบว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะเรียกมันขึ้นมาสู่การตั้งคำถามกับตัวเราเอง (Google Books)

ส่วน Kathleen E. Hull แห่งมหาวิทยาลัยมินเนสโซตา (University of Minnessota ได้ตรวจสอบหรือทบทวน (review) ไว้ว่า

ในหนังสือเล่มนี้บูร์ดิเยอ ได้เรียกร้องให้เกิดมีวิธีการใหม่ในการสร้างทฤษฎีและการวิจัยใหม่ในเรื่อง ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศภาวะ หรือ (gender inequality) เขาพยายามหาทางแก้ปัญหาให้กับสิ่งที่เขาเรียกว่า the “paradox of doxa” (ผู้แนะนำอยากแปลชั่วคราวก่อนว่า ภาวการณ์ขัดแย้งระหว่างความจริง หรือ ปฏิทัศน์ของสิ่งที่เป็นความจริง) เช่น การตั้งคำถามว่า ทำไมการจัดระบบเชิงสัญลักษณ์ของโลกจึงได้รับการยอมรับนับถืออย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งจากผู้คนที่เสียเปรียบมากที่สุดภายใต้การจัดระบบนั้น ความไม่เสมอภาคทางเพศภาวะเป็นเสมือนตัวอย่างหรือให้ตัวอย่างได้เป็นอย่างดีมากที่สุดและเป็นพิเศษของปฏิทัศน์นี้ คือ ทำไมบรรดาผู้ชายและผู้หญิงจึงยอมรับการจัดระบบเชิงสัญลักษณ์ที่มีลักษณะปฏิทัศน์ซึ่งส่งผลให้เกิดการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า ความแตกต่างทั้งหลายทางเพศภาวะนั้น เป็นธรรมชาติและเป็นอมตะหรือดำรงอยู่ตลอดไปไม่มีวันจบสิ้น ดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการให้ความถูกต้อง (Justifies) แก่การครอบงำของผู้ชายที่มีเหนือผู้หญิง.....ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น?

การครอบงำโดย (ผู้) ชาย ซึ่งความหมายในภาษาอังกฤษ/นักสตรีนิยมใช้ข้อความว่า Masculine Domination เป็นฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย ริชาร์ด ไนซ์ (Richard Nice) ซึ่ง ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) เป็นทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการ เป็นหนังสือหนา 144 หน้า ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Standford university Press เมื่อปี ค.ศ.2001 ภาควิชาสตรีศึกษา และศูนย์สตรีศึกษา เห็นว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจจึงนำมาไว้ในห้องศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษาเพื่อนักศึกษาและผู้สนใจจะได้ลองอ่านดู แต่เราเห็นว่า ผู้อ่านนักคิดนักวิชาการระดับโลกจำนวนหนึ่งบอกว่า “น่าสนใจมาก..... แต่ซับซ้อนอ่านยากเหลือเกิน” แม้กระทั่งคำแนะนำที่มากับหนังสือก็อ่านยาก เข้าใจยากสำหรับนักศึกษาสตรีศึกษาผู้ที่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการอ่านอะไรที่ยาก ๆ ยิ่งเป็นภาษาอังกฤษด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทางผู้แนะนำเองก็ไม่ได้เก่งกว่านักศึกษาเลยลองแปลคำแนะนำคร่าว ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้กับตัวเอง และคนอื่น ๆ ที่คิดจะลองอ่าน ได้ความดังนี้

“การครอบงำโดย (ผู้) ชายนั้น ฝังรากลึกมากในปฏิบัติการต่าง ๆ ทางสังคมและฝังอยู่ใน (จิต) ใต้สำนึกจนกระทั่งเราเองก็มองไม่เห็น/ไม่ตระหนักกับทั้งการครอบงำดังกล่าวนี้ยังอยู่ในแนวทางเดียวกันกับบรรดาความคาดหวังต่าง ๆ ของเรา ที่เราพบว่าเป็นเรื่องที่ยากมากที่เราจะสามารถเรียกมันขึ้นมาตั้งคำถามหรือตรวจสอบได้ การวิเคราะห์สังคม Kabyle หรือ Kabyle society โดย ปิแอร์ บูร์ดิเยอ เขาเสนอเครื่องมือทางเลือกให้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจแง่มุมต่าง ๆ ที่ถูกซ่อนเร้นเอาไว้มากที่สุดในบรรดาความสัมพันธ์ระหว่างเพศทั้งหลายในสังคมต่าง ๆ ของเรา และเพื่อที่จะหลุดหรือแตกออกมาจากพันธนาการต่าง ๆ ของความคุ้นเคยที่อำพราง ซึ่งผูกมัดเราให้ติดอยู่กับจารีตประเพณีของเรา บูร์ดิเยอ วิเคราะห์การครอบงำ โดยหรือแบบผู้ชาย ว่าเป็นตัวอย่างพื้นฐานสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์หรือ “symbolic violence” อันเป็นการครอบงำชนิดที่สุภาพอ่อนโยน มองไม่เห็นพร้อมกันนั้นก็เป็นความรุนแรงที่แผ่ซ่านทั่วไปหมด โดยใช้ผ่านทางการปฏิบัติการประจำวันต่าง ๆ ในชีวิตทางสังคม อนึ่งการที่จะเข้าใจการครอบงำในรูปแบบนี้ เราจะต้องทำการวิเคราะห์กลไกทางสังคมต่าง ๆ กับสถาบันทางสังคมทั้งหลาย เช่น ครอบครัว โรงเรียน โบสถ์ (church) (วัดวาอาราม สุเหร่า สื่อมวลชน-ผู้เก็บความ) และแน่นอนที่สุดต้องวิเคราะห์รัฐ ซึ่งสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผู้เปลี่ยนแปลงโฉมของประวัติศาสตร์ไปสู่ธรรมชาติและทำให้เป็นอมตะ ด้วยวิธีการเช่นนี้เท่านั้นเราจึงจะสามารถเปิดเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของการกระทำทางการเมืองชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้ประวัติศาสตร์สามารถมีความเคลื่อนไหวได้อีก ด้วยการสลายพิษของกลไกต่าง ๆ ที่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างบรรดาเพศกลายเป็นอะไรที่ต้องเป็นไป “ตามธรรมชาติ” แถมยัง “ทำให้มันไม่มีมิติทางประวัติศาสตร์” เสียอีก ดังนั้นหนังสือเล่มใหม่ (ที่ห้องศูนย์สารสนเทศสตรีศึกษา ศูนย์สตรีศึกษา ภาควิชาสตรีศึกษา เพิ่งได้มา-ผู้เก็บความ) ของ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ เป็นหนังสือขายดีในฝรั่งเศส จึงน่าจะเป็นหนังสือสำคัญที่ (นักศึกษา นักสตรีนิยม และผู้สนใจ-ผู้เก็บความ) ควรศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่สนใจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศภาวะ (gender) กับเพศวิถี (sexuality) กับบรรดาโครงสร้างต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดรูปร่างของชีวิตทางสังคม การเมือง และส่วนตัวด้านต่าง ๆ ของเรา